วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย



สรุปวิจัย
เรื่อง ผลของการเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติเพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนกของเด็กปฐมวัย

มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนกของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนกจำนวน 20 แผน แบบบันทึกพฤติกรรมการเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติและแบบทดสอบทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนกของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนกก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่น โดยวัสดุธรรมชาติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่าเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยของทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนกหลังการจัดกิจกรรมการเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติ

การเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติ คือ กิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฎิบัติกับวัสดุที่สามารถหาได้ตามธรรมชาติ โดยวัสดุนั้นไม่ผ่านขั้นตอนการดัดแปลงใดๆ
วัสดุธรรมชาติ คือ ดอกไม้ ใบไม้ ผัก ผลไม้ เมล็ดพืช กิ่งไม้ ไข่ เปลือกหอย ก้อนหิน
ทักษะวิทยาศาสตร์ คือ ความสามารถในการคิดหรือลงมือปฏิบัติ เพื่อแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริง เกี่ยวกับธรรมชาติได้อย่างคล่องแคล่ว ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยศึกษาทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนก
ทักษะการจำแนก คือ ความสามารถในการจัดแยกสิ่งของต่างๆ ที่ต้องการศึกษาออกเป็นหมวดหมู่ ในด้านความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ โดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา คือ คุณลักษณะของสิ่งต่างๆ และการใช้ประสาทสัมผัส

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของ Piaget ได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาเป็น 4 ขั้น
1. ( แรกเกิด – 2 ปี )วัยที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆของร่างกาย
2. ( อายุ 18 เดือน -7 ปี )เด็กก่อนเข้าโรงเรียน มีระดับเชาว์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้  มีโครงสร้างของสติปัญญา ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว
3. ( อายุ 7 -11 ปี )เด็กวัยนี้จะสามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งกฎเกณฑ์ และแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
4. ( อายุ 12 ปีขึ้นไป )ในขั้นนี้พัฒนาการเชาว์ปัญญาและความคิดเห็นของเด็กเป็นขั้นสุดยอด มีความพอใจ ที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาหรือหลักการสอนโดยการค้นพบของ Bruner  ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาของคนแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้น
ขั้นที่ 1 การเรียนรู้โดยการกระทำ
ขั้นที่ 2 การเรียนรู้โดยการรับรู้เป็นภาพในใจ
ขั้นที่ 3 การเรียนรู้โดยการสื่อความหมายทางสัญลักษณ์

ทฤษฎีการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติของ  Dewey
เกิดจากการลงมือปฏิบัติ ลงมือกระทำกับวัตถุ ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสำรวจ เพื่อให้เด็กค้นพบความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ผ่านประสบการณ์ตรง จนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
การเล่นเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทั้งทางตรงและทางอ้อม การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและความคิด การเล่นเป็นการเชื่อมโยง การเล่นเป็นการนำเด็กไปสู่ภาวะสมดุลทางอารมณ์ การเล่นเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินอีกทั้งยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา

การเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติมีประโยชน์ คือเป็นการเล่นที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี เนื่องจากเป็นวัสดุจริง ทำให้เด็กเกิดการซึมซับธรรมชาติ เด็กจะเกิดความรู้สึกอบอุ่น  อ่อนโยน เข้าใจธรรมชาติ สามารถนำมาเล่นได้หลากหลายรูปแบบและยังเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ราคาถูกอีกด้วย

การจำแนก คือความสามารถในการจัดแยกสิ่งของหรือปรากฏการณ์สิ่งต่างๆ ที่ต้องการศึกษาออกเป็นหมวดหมู่ โดยมีเกณฑ์ คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

การจัดกิจกรรม เป็นการจัดกิจกรรมที่ไม่เน้นเนื้อหา วิทยาศาสตร์แต่เป็นการเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้เนื้อหาเป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็น ทั้งนี้การจัดกิจกรรมนั้นจะต้องเป็นกิจกรรม ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำและทำงานร่วมกับผู้อื่น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น