บันทึกอนุทิน
วิชา
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา
สุขสำราญ
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 14
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.
เวลาเข้าเรียน 08.30น. เวลาเลิกเรียน 12.20น.
ความรู้ที่ได้รับ
จากงานวิจัยเรื่องที่ 1 การส่งเริมทักษะการสังเกตโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา
เพราะเด็กปฐมวัยยังขาดทักษะการสังเกต เลยใช้วิจัยในการแก้ปัญหา
การสังเกตเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
วิจัยเรื่องที่ 2 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหลังการเล่านิทานต้องการส่งเสริมการเล่านิทาน
เป็นความสำคัญในการส่งเสริมการฟังนิทาน สื่อสารด้วยการใช้การสนทนา
เครื่องมือที่ใช้ก็จะมี แผน แบบทดสอบ เป็นการส่งเสริมทุกด้านของเด็ก
วิจัยเรื่องที่ 3
การศึกษาผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบนักวิจัยที่มีต่อกระบวนการวิทยาศาสตร์
รูปแบบจะยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย1.ให้อิสระแก่เด็ก 2.พาเด็กไปศึกษาให้เด็กเจอประสบการณ์ตรง 3.ประเมินผลงานของเด็ก
วิจัยเรื่องที่ 4 ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กิจกรรม 1.
สีจากธรรมชาติ 2. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 3. เด็กปฐมวัย
วิจัยเรื่องที่ 5 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบมุ่งเน้นกระบวนการ
โดยให้เด็กปฎิบัติเองด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
วิจัยเรื่องที่ 6 การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากกิจกรรม ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาในเด็กปฐมวัย โดยเด็กเล็กๆ ควรส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการคิดที่สามารถพัฒนาและส่งเสริม
การรู้จักการแก้ปัญหาซึ่งจะต้องเริ่มกันตั้งแต่แรก ผู้ใหญ่จะต้องเข้าใจถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
การคิดของเด็กเล็กต้องอาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่
และการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก
วิจัยเรื่องที่ 7 การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สิ่งที่ควรคำนึงในการที่จะทำให้การแก้ปัญหา
คือการเรียนรู้ในการแก้ปัญหา การคิดที่เป็นเหตุเป็นผล และระดับความสามารถทางเชาวน์ปัญญา
การนำไปประยุกต์ใช้
ครูควรจัดบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาไม่ให้เด็กเกิดความเครียด
สร้างสิ่งแวดล้อมให้มีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนรู้ เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีการเปรียบเทียบกันในการเรียนรู้ ทั้งหมดเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาในปฐมวัย การให้ความรักและความอบอุ่น ก็เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับเด็ก
เด็กจะรู้ปลอดภัยเมื่อผู้ใหญ่ให้ความรักและความอบอุ่น ให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 โดยผู้ใหญ่หรือครูและผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้ดูแลจัดสิ่งเหล่านั้น เด็กก็จะเป็นคนช่างสังเกตและไวต่อสถานการณ์ที่พบ ให้เด็กได้ตอบคำถามจากการซักถามของครู คือต้องใช้คำถามลักษณะต่างๆกับเด็กในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เด็กได้แสดงออกและฝึกการคิด ให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น เปิดโอกาสให้เด็กได้เสนอความคิดเห็นและตัดสินใจ
ไม่ว่าการเล่นหรือการเรียนรู้ ให้เด็กได้รู้จักและสามารถพึ่งพาตนเอง
ซึ่งการส่งเสริมให้เด็กช่วยตนเอง จะทำให้เด็กทำงานหรือทำกิจกรรมด้วยความมั่นใจ เป็นพื้นฐานสำคัญของการที่จะทำให้เด็กมีทักษะในการแก้ปัญหา ควรส่งเสริมให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพราะคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์กับการแก้ปัญหา ให้เด็กได้ใช้การอธิบาย การให้เหตุผล โดยไม่ใช่วิธีการบังคับ
ในการสังเกตพฤติกรรมของเด็กควรสังเกตจากการเล่นในกิจกรรมประจำวันทุกกิจกรรมจึงจะสามารถมองเห็นพัฒนาการเด็กได้แน่นอน
ในกระบวนการสังเกตพฤติกรรมนั้น ครูหรือผู้ปกครองก็ตามที่เป็นผู้สังเกต ไม่ควรที่จะสังเกตหลายๆ
พฤติกรรมในเวลาเดียวกัน นอกจากว่าจะมีประสบการณ์ในการสังเกตเป็นอย่างดีแล้ว
เพราะว่าจะทำให้เกิดความสับสนได้
อันเป็นเหตุให้ได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงและแบบสังเกตพฤติกรรมอาจเลือกใช้ได้หลายรูปแบบ
ขึ้นอยู่กับทักษะของผู้ใช้และบริบทของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอีกด้วย
การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ
แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัย และตั้งใจฟังอาจารย์สอนและที่อาจารย์อธิบายรายละเอียดต่างๆ
มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์
เพื่อน
วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้ออย มีการนำเสนอที่ดีพอควร
ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน
อาจารย์
วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นในเนื้อหาวิจัยที่เพื่อนนำมาเสนอ
ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและกล้าคิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น