วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2557  ครั้งที่ 16
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.





การนำไปประยุกต์ใช้
          วันนี้อาจารย์ให้คนที่ยังไม่ได้นำเสนอออกมานำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครูที่ตนเองเตรียมมาทีละคนโดยเรียงตามเลขที่ โดยที่อาจารย์จะคอยสอดแทรกเนื้อหาให้เพิ่มเติมและเน้นหลักการทางวิทยาศาสตร์ให้ชัดเจนอีกด้วย ทำให้เราได้รู้และเข้าใจมากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะได้ไปสอนเด็กได้จริงในอนาคต ตอนสุดท้ายอาจารย์ได้ให้คำแนะนำการเขียนแผนของแต่ละกลุ่มเพื่อที่จะนำไปเขียนให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
         
การประเมินหลังการเรียน
     ตนเอง  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู ตั้งใจฟังอาจารย์แนะนำสิ่งที่ขาดและรายละเอียดต่างๆของการเขียนแผน
     เพื่อน วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ได้ออกมานำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครูของตัวเองหน้าชั้นเรียนอย่างเต็มที่ ตั้งใจฟังอาจารย์ติชมและข้อดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนแผนที่จะใช้สอนเด็ก
     อาจารย์ วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา คอยให้คำแนะนำที่เพื่อนนำเสนอและรูปแบบการเขียนแผน หลักการสอนให้ผู้เรียนได้ปฎิบัติอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษาได้เขียนแผนที่ดีขึ้นและถูกต้องสมบูรณ์แบบ

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557  ครั้งที่ 15
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.


วันนี้อาจารย์ให้แต่ละคนนำของเล่นวิทยาศาสตร์ของตัวเองมาจำแนกให้ถูกหมวดหมู่ โดยกลุ่มแรกจะเป็นเรื่องของจุดศุนย์ถ่วง กลุ่มที่สองจะเป็นเรื่องของเสียง กลุ่มที่สามจะเป็นเรื่องของลม-อากาศ พลังงานที่เกิดจากลม กลุ่มที่สี่จะเป็นเรื่องของน้ำ กลุ่มที่ห้าจะเป็นเรื่องพลังงาน ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง กลุ่มที่หกจะเป็นเรื่องของแรงดันอากาศ








กิจกรรมที่ 2  อาจารย์ให้เพื่อนออกมานำเสนองานวิจัยที่ตัวเองเตรียมมา โดยมีดังต่อไปนี้



กิจกรรมที่ 3   อาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาได้ทำอาหารกัน โดยแบ่งให้กลุ่มละ 6 คน




















วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย



สรุปวิจัย
เรื่อง ผลของการเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติเพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนกของเด็กปฐมวัย

มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนกของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนกจำนวน 20 แผน แบบบันทึกพฤติกรรมการเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติและแบบทดสอบทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนกของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนกก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่น โดยวัสดุธรรมชาติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่าเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยของทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนกหลังการจัดกิจกรรมการเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติ

การเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติ คือ กิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฎิบัติกับวัสดุที่สามารถหาได้ตามธรรมชาติ โดยวัสดุนั้นไม่ผ่านขั้นตอนการดัดแปลงใดๆ
วัสดุธรรมชาติ คือ ดอกไม้ ใบไม้ ผัก ผลไม้ เมล็ดพืช กิ่งไม้ ไข่ เปลือกหอย ก้อนหิน
ทักษะวิทยาศาสตร์ คือ ความสามารถในการคิดหรือลงมือปฏิบัติ เพื่อแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริง เกี่ยวกับธรรมชาติได้อย่างคล่องแคล่ว ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยศึกษาทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนก
ทักษะการจำแนก คือ ความสามารถในการจัดแยกสิ่งของต่างๆ ที่ต้องการศึกษาออกเป็นหมวดหมู่ ในด้านความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ โดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา คือ คุณลักษณะของสิ่งต่างๆ และการใช้ประสาทสัมผัส

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของ Piaget ได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาเป็น 4 ขั้น
1. ( แรกเกิด – 2 ปี )วัยที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆของร่างกาย
2. ( อายุ 18 เดือน -7 ปี )เด็กก่อนเข้าโรงเรียน มีระดับเชาว์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้  มีโครงสร้างของสติปัญญา ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว
3. ( อายุ 7 -11 ปี )เด็กวัยนี้จะสามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งกฎเกณฑ์ และแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
4. ( อายุ 12 ปีขึ้นไป )ในขั้นนี้พัฒนาการเชาว์ปัญญาและความคิดเห็นของเด็กเป็นขั้นสุดยอด มีความพอใจ ที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาหรือหลักการสอนโดยการค้นพบของ Bruner  ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาของคนแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้น
ขั้นที่ 1 การเรียนรู้โดยการกระทำ
ขั้นที่ 2 การเรียนรู้โดยการรับรู้เป็นภาพในใจ
ขั้นที่ 3 การเรียนรู้โดยการสื่อความหมายทางสัญลักษณ์

ทฤษฎีการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติของ  Dewey
เกิดจากการลงมือปฏิบัติ ลงมือกระทำกับวัตถุ ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสำรวจ เพื่อให้เด็กค้นพบความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ผ่านประสบการณ์ตรง จนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
การเล่นเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทั้งทางตรงและทางอ้อม การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและความคิด การเล่นเป็นการเชื่อมโยง การเล่นเป็นการนำเด็กไปสู่ภาวะสมดุลทางอารมณ์ การเล่นเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินอีกทั้งยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา

การเล่นโดยใช้วัสดุธรรมชาติมีประโยชน์ คือเป็นการเล่นที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี เนื่องจากเป็นวัสดุจริง ทำให้เด็กเกิดการซึมซับธรรมชาติ เด็กจะเกิดความรู้สึกอบอุ่น  อ่อนโยน เข้าใจธรรมชาติ สามารถนำมาเล่นได้หลากหลายรูปแบบและยังเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ราคาถูกอีกด้วย

การจำแนก คือความสามารถในการจัดแยกสิ่งของหรือปรากฏการณ์สิ่งต่างๆ ที่ต้องการศึกษาออกเป็นหมวดหมู่ โดยมีเกณฑ์ คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

การจัดกิจกรรม เป็นการจัดกิจกรรมที่ไม่เน้นเนื้อหา วิทยาศาสตร์แต่เป็นการเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้เนื้อหาเป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็น ทั้งนี้การจัดกิจกรรมนั้นจะต้องเป็นกิจกรรม ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำและทำงานร่วมกับผู้อื่น





วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุป VDO


สรุปวีดีโอเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


ผงวิเศษช่วยชีวิต

           จากวีดีโอ จะเห็นได้ว่าแป้งข้าวโพดที่ละลายน้ำจะมีคุณสมบัติคือ ถ้ามีแรงกระแทก เช่น วิ่งหรือเดินเร็วๆ เหยียบไปบนน้ำแป้งมันจะเหมือนของเป็นของแข็ง ไม่ยุบตัวลงไป  แต่ถ้าเป็นแรงกดแบบค่อยๆกด มันจะเหมือนเป็นของเหลว เช่น เมื่อเราไปยืนอยู่บนน้ำแป้งเราก็จะจมลงไป

ลักษณะแบบนี้ ก็จะเหมือนลักษณะของทรายที่ชุ่มน้ำตามชายหาด หรือทรายดูด


การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

            เราสามารถเรียนรู้ผ่านวีดีโอ เพื่อเอาไปใช้สอนเด็กได้ในอนาคต ถือว่าเป็นความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ ในการสอนเด็กเรื่องแป้งข้าวโพด  เพราะวีดีโอมีรูปแบบที่น่าสนใจ เด็กๆจะสนใจและมีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย หรือนำไปทดลองเองได้ด้วยอีกด้วยการทดลองนี้ยังให้เด็กได้เรียนรู้กับสิ่งที่เด็กต้องเจอในชีวิตประจำวันด้วย



วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2557  ครั้งที่ 14
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.



ความรู้ที่ได้รับ
          จากงานวิจัยเรื่องที่ 1 การส่งเริมทักษะการสังเกตโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา เพราะเด็กปฐมวัยยังขาดทักษะการสังเกต เลยใช้วิจัยในการแก้ปัญหา การสังเกตเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
วิจัยเรื่องที่ 2 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหลังการเล่านิทานต้องการส่งเสริมการเล่านิทาน เป็นความสำคัญในการส่งเสริมการฟังนิทาน สื่อสารด้วยการใช้การสนทนา เครื่องมือที่ใช้ก็จะมี แผน แบบทดสอบ เป็นการส่งเสริมทุกด้านของเด็ก
วิจัยเรื่องที่ 3 การศึกษาผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบนักวิจัยที่มีต่อกระบวนการวิทยาศาสตร์ รูปแบบจะยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย1.ให้อิสระแก่เด็ก 2.พาเด็กไปศึกษาให้เด็กเจอประสบการณ์ตรง 3.ประเมินผลงานของเด็ก
วิจัยเรื่องที่ 4 ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กิจกรรม 1. สีจากธรรมชาติ  2. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 3. เด็กปฐมวัย
วิจัยเรื่องที่ 5 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบมุ่งเน้นกระบวนการ โดยให้เด็กปฎิบัติเองด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
วิจัยเรื่องที่  6 การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากกิจกรรม  ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาในเด็กปฐมวัย  โดยเด็กเล็กๆ ควรส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการคิดที่สามารถพัฒนาและส่งเสริม การรู้จักการแก้ปัญหาซึ่งจะต้องเริ่มกันตั้งแต่แรก ผู้ใหญ่จะต้องเข้าใจถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก การคิดของเด็กเล็กต้องอาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่  และการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 
 วิจัยเรื่องที่ 7 การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่ควรคำนึงในการที่จะทำให้การแก้ปัญหา คือการเรียนรู้ในการแก้ปัญหา การคิดที่เป็นเหตุเป็นผล  และระดับความสามารถทางเชาวน์ปัญญา

การนำไปประยุกต์ใช้
          ครูควรจัดบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาไม่ให้เด็กเกิดความเครียด สร้างสิ่งแวดล้อมให้มีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนรู้ เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีการเปรียบเทียบกันในการเรียนรู้  ทั้งหมดเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาในปฐมวัย การให้ความรักและความอบอุ่น ก็เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับเด็ก เด็กจะรู้ปลอดภัยเมื่อผู้ใหญ่ให้ความรักและความอบอุ่น ให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 โดยผู้ใหญ่หรือครูและผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้ดูแลจัดสิ่งเหล่านั้น เด็กก็จะเป็นคนช่างสังเกตและไวต่อสถานการณ์ที่พบ ให้เด็กได้ตอบคำถามจากการซักถามของครู คือต้องใช้คำถามลักษณะต่างๆกับเด็กในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง  เพื่อให้เด็กได้แสดงออกและฝึกการคิด ให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น เปิดโอกาสให้เด็กได้เสนอความคิดเห็นและตัดสินใจ ไม่ว่าการเล่นหรือการเรียนรู้ ให้เด็กได้รู้จักและสามารถพึ่งพาตนเอง ซึ่งการส่งเสริมให้เด็กช่วยตนเอง จะทำให้เด็กทำงานหรือทำกิจกรรมด้วยความมั่นใจ เป็นพื้นฐานสำคัญของการที่จะทำให้เด็กมีทักษะในการแก้ปัญหา  ควรส่งเสริมให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพราะคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์กับการแก้ปัญหา ให้เด็กได้ใช้การอธิบาย การให้เหตุผล โดยไม่ใช่วิธีการบังคับ ในการสังเกตพฤติกรรมของเด็กควรสังเกตจากการเล่นในกิจกรรมประจำวันทุกกิจกรรมจึงจะสามารถมองเห็นพัฒนาการเด็กได้แน่นอน ในกระบวนการสังเกตพฤติกรรมนั้น ครูหรือผู้ปกครองก็ตามที่เป็นผู้สังเกต ไม่ควรที่จะสังเกตหลายๆ พฤติกรรมในเวลาเดียวกัน นอกจากว่าจะมีประสบการณ์ในการสังเกตเป็นอย่างดีแล้ว เพราะว่าจะทำให้เกิดความสับสนได้ อันเป็นเหตุให้ได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงและแบบสังเกตพฤติกรรมอาจเลือกใช้ได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับทักษะของผู้ใช้และบริบทของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอีกด้วย


การประเมินการเรียนการสอน
     ตนเอง  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัย และตั้งใจฟังอาจารย์สอนและที่อาจารย์อธิบายรายละเอียดต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์
     เพื่อน วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้ออย มีการนำเสนอที่ดีพอควร ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน
     อาจารย์ วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นในเนื้อหาวิจัยที่เพื่อนนำมาเสนอ ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและกล้าคิด


วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2557  ครั้งที่ 13
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนแผนของกลุ่มตัวเอง โดยส่งตัวแทนตามที่มอบหมายไว้เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว




















การนำไปประยุกต์ใช้
          วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอแผนการสอนโดยแต่ละกลุ่มจะมีตัวแทนมานำเสนอที่อาจารย์ได้เลือกไว้ตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว และมีข้อตกลงว่าการนำเสนอเสร็จแล้วอาจารย์ค่อยให้คำแนะนำในข้อที่ผิดหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งการเขียนแผนสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ในชีวิตประจำวันกับเด็กปฐมวัย เป็นการฝึกให้เรามีการเขียนแผนที่ดีและสามารถนำแผนที่ขียนมาใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย
          การประเมินหลังการเรียน
     ตนเอง  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนสอนและตั้งใจฟังอาจารย์แนะนำสิ่งที่ขาดและรายละเอียดต่างๆของการเขียนแผน
     เพื่อน วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้ออย ได้ออกมาสอนแผนของตัวเองหน้าชั้นเรียนอย่างเต็มที่ ตั้งใจฟังอาจารย์ติชมและข้อดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนแผนที่จะใช้สอนเด็ก
     อาจารย์ วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา คอยให้คำแนะนำรูปแบบการเขียนแผน หลักการสอนให้ผู้เรียนได้ปฎิบัติอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษาได้เขียนแผนที่ดีขึ้นและถูกต้องสมบูรณ์แบบ

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 30 ตุลาคม 2557  ครั้งที่ 12
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาได้ทดลอง

อุปกรณ์ที่อาจารย์ได้เตรียมให้นักศึกษาได้ทดลอง




กิจกรรมแรก อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนปั้นดินน้ำมัน แล้วออกไปใส่ลงน้ำ




กิจกรรมที่2 อาจารย์ให้นักศึกษาวาดรูปดอกไม้พับกลีบเข้า แล้วให้ออกไปลอยน้ำทีละคน แล้วสังเกตความแตกต่างของดอกไม้




กิจกรรมที่3 อาจารย์ให้นักศึกษาเทน้ำใส่ขวดแล้วเขย่าเปิดรูทีละขั้น รูบน รูกลาง รูล่าง แล้วให้สังเกตว่ารูไหนมีน้ำไหลไกลสุด สรุปรูล่างน้ำไหลไกลสุด เพราะมีแรงดันน้ำมากกว่า







กิจกรรมที่4 อาจารย์ให้นักศึกษาเทน้ำใส่ขวดแล้วดูว่าการเคลื่อนที่ของน้ำ จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ








กิจกรรมที่5 อาจารย์ได้จุดไฟแล้วตั้งไว้แล้วนำแก้วน้ำมาคว่ำคลุมเทียน จะเห็นได้ว่าไฟเริ่มดับลง จะเห็นน้ำเข้าไปในแก้วได้ เกิดจากอากาศเข้าไปแทนที่








กิจกรรมที่6 อาจารย์ได้เทน้ำใส่แก้วครึ่งแก้วแล้วนำปากกาเมจิกใส่ลงในน้ำ จะเห็นได้ว่าปากกามีด้ามใหญ่ขึ้น เนื่องจากเกิดการหักเหของแสง เมื่อมองดูแล้วข้างล่างจะขยายใหญ่




การนำไปประยุกต์ใช้
          สิ่งที่ที่ได้เรียนวันนี้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัย เพื่อนำทักษะวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้คิด ได้ทดลอง ได้สังเกต นอกจากนี้ยังมีทั้งแนวคิดพื้นฐาน วิธีการ เจตคติ ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ การที่เด็กได้ลงมือปฎิบัติทดลองของเด็กเอง เด็กจะได้สังเกตผลงานที่ตัวเองได้ลงมือกระทำ ว่าแตกต่างกันอย่างไร การปฏิบัติจริง กิจกรรมมาบูรณาการได้จากศิลปะสร้างสรรค์ เคลื่อนไหวและจังหวะ เสริมประสบการณ์ โดยเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว เช่น การทดลอง ค้นหา สังเกต เป็นต้น สามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในอนาคตได้อีกด้วย
          การประเมินหลังการเรียน
     ตนเอง  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและที่อาจารย์อธิบายรายละเอียดต่างๆ ได้มีการลงมือไปทดลองที่หน้าชั้นเรียน มรส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับเพื่อน มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์
     เพื่อน วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้ออย ได้ออกมาทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียนอย่างเต็มที่ ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน
     อาจารย์ วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีการกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ทดลองและหาวิธีแก้ไข ข้อดีและข้อเสียของผลงาน ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษาได้สังเกตและทดลองด้วยตนเอง