วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557



สรุปความลับของอากาศ

            ลมก็คืออากาศที่เคลื่อนที่ได้ อากาศจะอยู่รอบๆตัวเรา อยู่ได้ทุกที่ มนุษย์หรือสัตว์พืชใช้อากาศในการหายใจ ถึงจะมองไม่เห็นแต่อากาศมีตัวตน  อากาศไม่มีรูปร่างแต่จะแทรกตัวอยู่ตลอดเวลา อากาศต้องการที่อยู่เหมือนกัน ถ้ามีอะไรมาแทนที่อากาศ อากาศก็จะเคลื่อนตัวออกไปทันที อากาศจะมีน้ำหนัก อากาศจะมีน้ำหนักต่างกันขึ้นอยู่กับความร้อนและเย็นอากาศบริเวณนั้น
               อากาศร้อนจะมีน้ำหนักที่เบาลง ทำให้วัตถุลอยขึ้น อากาศที่เราเป่าออกจากปากก็ร้อนเหมือนกัน อากาศจะคอยปรับความสมดุลอยู่ตลอดเวลา ลมก็คืออากาศเย็นที่พัดเข้ามา พื้นโลกจะมีความร้อนไม่เท่ากัน ลมสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปตามวัตถุที่ขวางทางอยู่ได้ อากาศมีคุณสมบัติสำคัญมากมายที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ เช่น แรงดันอากาศ คือ แรงที่อากาศกดลงพื้นผิวไปยังวัตถุต่างๆ แรงดันอากาศสามารถยกของหนักๆได้อีกด้วย อากาศร้อนมีแรงดันน้อยกว่าอากาศเย็น อากาศที่เคลื่อนที่ก็จะมีแรงดันน้อยกว่าอากาศที่อยู่นิ่งๆ 


วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทุกอนุทินครั้งที่ 11



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 23 ตุลาคม 2557  ครั้งที่ 11
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากเป็นวันปิยะมหาราช

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 18 ตุลาคม 2557  ครั้งที่ 10
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

สรุปหลังการเรียน

            เนื่องจากดิฉันติดธุระ จึงไม่ได้เข้าเรียนชดเชยในวันเสาร์ และได้สรุปเนื้อหาความรู้ที่อาจารย์สอนจาก Blog ของนางสาวกาญจนา ธนารัตน์



ความรู้ที่ได้รับ
การเขียนแผนการสอนในแต่ละวันควรจะสอดคล้องกันในอาทิตย์นั้นๆ
การเขียนแผนการสอนควรมี ขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป
การเขียนแผนการสอนเขียนในเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กได้ในทุกๆด้าน
การเขียนแผนการสอนควรคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กเป็นหลัก

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การเขียนแผนการสอนควรมีความหลากหลายในหน่วยการเรียนรู้ของเด็กจะทำให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อหน่ายในการจัดกิจกรรมควรให้เด็กได้มีส่วนร่วมควรคำนึงถึงระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ของเด็กคือ 15-20 นาที เด็กจะเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพหากได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
เทคนิคการสอนในห้องเรียน
การใช้คำถามปลายเปิดและใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้น
ใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอน
มีการอภิปรายแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

คำศัพท์
แผนการสอน ( Lesson Plan )
การประยุกต์ใช้ ( Application )
การวัดและการประมวลผล ( Measurement and Evaluation )
พัฒนาการเรียนรู้ ( Learning Developmemt )
การลงมือกระทำด้วยตนเอง ( Doing Trade manually )
ความสอดคล้อง ( Accordance )

การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง  เข้าใจหลักการแผนการสอนในระดับหนึ่งและใช้คำถามเป็นตัวขยายความเข้าใจในเนื้อหา
เพื่อน  มีการให้ความร่วมมือ ในการตอบคำถามในชั้นเรียนเป็นอย่างดี และมีกิจกรรมที่หลากหลาย
อาจารย์  สอนและอธิบายการเขียนแผนการสอนอย่างละเอียด และมีการยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น



วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 16 ตุลาคม 2557  ครั้งที่ 9
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

สรุปหลังการเรียน



               วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอผลงานของเล่นวิทยาศาสตร์ โดยดิฉันก็ได้ออกไปนำเสนอของเล่นของตนเอง คือ ไหมพรมเต้นระบำ ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีการทำ ดังนี้



                        อุปกรณ์
                       1.            หลอดปลายช้อนขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก
                       2.            ไหมพรม( Knitting wool )
                       3.            กรรไกร( Scissors )
                       4.            เทปใส( Clear adhesive tape )
                           
                               วิธีทำ


            ใช้กรรไกรตัดหลอดออกเป็น 2 ท่อน  ท่อนแรกยาว 10 เซนติเมตร เส้นที่สองยาว 8 เซนติเมตร 


            ใช้กรรไกรตัดหลอดพลาสติกท่อนแรกให้เป็นรูปวงรี ห่างจากปลายด้านหนึ่ง ประมาณ 3 เซนติเมตร ให้มีรูความยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร 


                ต่อปลายช้อน หรือปลายแหลมของหลอดท่อนที่2 เข้ากับรูบนหลอดของท่อนแรก ใช้เทปกาวยึดหลอดทั้งสองเข้าด้วยกัน


 เมื่อต่อเสร็จแล้ว หน้าตาจะออกมาเป็นแบบนี้ค่ะ


              นำไหมพรมมาสอดเข้าไปในหลอด เมื่อสอดเข้าไปแล้ว ผูกเชือกทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน โดยทำปมให้เล็กที่สุด  เพราะถ้าปมใหญ่เกินไป เวลาเป่าเชือกปมจะติดที่หลอด ทำให้ไหมพรมไม่เคลื่อนไหวค่ะ


เกิดอะไรขึ้นในทางวิทยาศาสตร์
             เนื่องจากหลอดที่ใช้เป่าทำมุมเอียงกับหลอดตรง ทำให้ลมที่เป่าเคลื่อนที่ผ่านหลอดตรงอย่างรวดเร็ว ผลักให้ไหมพรมส่วนที่อยู่ในหลอดตรงเคลื่อนที่เป็นวง


การนำไปประยุกต์ใช้
            เนื้อหาที่ได้เรียนวันนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัยและตามขั้นพัฒนาการของเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ โดยมีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  เด็กได้เชื่อมโยงการเรียนรู้และสามารถบูรณาการทางวิทยาศาตร์ได้ ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เด็กได้ทั้งการเล่น การประดิษฐ์ และทักษะทางวิทยาศาสตร์ กิจกรรมนี้ทำให้เด็กได้มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เด็กจะได้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

การประเมินหลังการเรียน
        ตนเอง  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและที่อาจารย์อธิบายรายละเอียดต่างๆ ตั้งใจดูเพื่อนนำเสนอผลงานของตนเอง มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์
       เพื่อน วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้ออย ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน
        อาจารย์ วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นในผลงานของตัวเองและงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นการให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงความคิดเห็น

คำศัพท์
1.  หลอด( Staw)
                    2. ไหมพรม( Knitting wool )
          3.  กรรไกร( Scissors )
                            4.  เทปใส( Clear adhesive tape )



วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8




บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 2 ตุลาคม 2557  ครั้งที่ 8
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่7



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 2 ตุลาคม 2557  ครั้งที่ 7
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

สรุปหลังการเรียน




ความรู้ที่ได้รับ
           กิจกรรม1. อาจารย์ได้แจกกระดาษคนละแผ่นเล็กๆ ตัดให้เท่ากับรูของแกนทิชชู่(Tissue paper) แล้ววาดภาพลงกระดาษที่ตัด
          สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้
การสังเกต ( observation )
การที่เด็กได้ลงมือกระทำ
เกิดทักษะการเรียนรู้ ( Skill )
การสร้างชิ้นงาน
การปฏิบัติจริง ( Practicality )
บูรณาการจากศิลปะสร้างสรรค์
กิจกรรมที่2. เพื่อนออกมาสรุปบทความของตัวเอง
1. สอนวิทยาศาสตร์จากเป็ด ( Duck ) และไก่ ( Chicken)
2. จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ
3. ส่งเสริมกระบวนการคิดของเด็ก
4. สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ ( Natural Phenomenon )
5. การสอนลูกเรื่องอากาศ ( Climate )

การนำไปประยุกต์ใช้
          เนื้อหาที่ได้เรียนวันนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้ถูกต้องเหมาะสมกับวัย เพื่อนำทักษะวิทยาศาสตร์ที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้กับเด็ก นอกจากนี้ยังมีทั้งแนวคิดพื้นฐาน วิธีการ เจตคติ ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ การสร้างชิ้นงานโดยเด็กจะได้สังเกตจากเพื่อน สรุปจากเพื่อน เราแปลงความรู้ให้มาเป็นกิจกรรมให้มากที่สุด เด็กก็จะได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง การปฏิบัติจริง กิจกรรมมาบูรณาการได้จากศิลปะสร้างสรรค์ เคลื่อนไหวและจังหวะ เสริมประสบการณ์ โดยเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว เช่น การทดลอง ค้นหา สังเกต เป็นต้น สามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในอนาคตได้อีกด้วย
          การประเมินหลังการเรียน
     ตนเอง  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและที่อาจารย์อธิบายรายละเอียดต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์
     เพื่อน วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้ออย ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน
     อาจารย์ วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นในเนื้อหาและงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงความคิดเห็น
        
คำศัพท์
                                                        Tissue paper  แปลว่า กระดาษทิชชู่
                                                        observation  แปลว่า  การสังเกต
                                                         Practicality  แปลว่า การปฏิบัติจริง
                                                         Duck  แปลว่า  เป็ด
                                                         Chicken  แปลว่า ไก่
                                                         Climate  แปลว่า  อากาศ
                                                         Natural Phenomenon แปลว่า  ปรากฏการณ์ธรรมชาติ